ในการตรวจสุขภาพ การตรวจหาสารบ่งชี้มะเร็งจำเป็นมากน้อยแค่ไหน
หากมีคนในครอบครัวมีประวัติเป็นมะเร็ง ควรทำอย่างไร
ฟังคำตอบได้จาก:
นายแพทย์เฉลิมพล กิจชระโยธิน
แพทย์สาขาเวชศาสตร์ครอบครัว
ศูนย์การแพทย์ RSU Medical Center
การเจาะเลือดเพื่อตรวจค่ามะเร็ง
ปัจจุบันเริ่มพบคนที่เป็นมะเร็งในคนอายุน้อยลง ผู้หญิงบางรายตรวจพบมะเร็งเต้านมเมื่ออายุ 30-35 ปี
การตรวจสารบ่งชี้มะเร็งจากการเจาะเลือดช่วยได้หรือไม่
ในทางการแพทย์ สารบ่งชี้มะเร็งจากการเจาะเลือดไม่ได้ใช้ในการวินิจฉัยโรคมะเร็ง แต่ใช้ในการติดตามในผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งแล้ว เพื่อดูว่าตอบสนองต่อการรักษาดีหรือไม่
ถ้าคนในครอบครัวมีประวัติป่วยเป็นมะเร็งควรทำอย่างไร
บุคคลที่มีคนในครอบครัวเป็นมะเร็งมีความเสี่ยงสูง แต่ไม่ใช่ว่าจะเป็นมะเร็ง
คนที่ควรจะมาตรวจว่ามีมะเร็งหรือไม่
คนที่มีอาการผิดปกติต่างๆ ควรมาตรวจเพิ่ม เช่น
- มะเร็งลำไส้ ถ้ามีความผิดปกติด้านการขับถ่าย ตรวจโดยการส่องกล้องทางทวารหนัก
- มะเร็งปากมดลูก ตรวจแปบเสมียร์ (Pap Smear)
- มะเร็งเต้านม คลำเต้านมร่วมกับการตรวจแมมโมแกรม
มะเร็งแต่ละอวัยวะจะมีเครื่องมือพิเศษสำหรับตรวจเมื่อมีปัญหาหรือมีอาการผิดปกติ
กรณีที่ตรวจแล้วเจอค่ามะเร็งสูงควรทำอย่างไรต่อไป
คนที่สุขภาพดีแล้วไปตรวจสุขภาพพบค่าสารบ่งชี้มะเร็งสูง อย่าเพิ่งตื่นตระหนก สารบ่งชี้มะเร็งไม่ได้วินิจฉัยว่าเป็นมะเร็ง อาจเกิดจากสาเหตุอื่น เช่น มีค่าสูงอยู่แล้ว หรือมีการอักเสบในร่างกาย ถ้ากังวล คุณหมออาจจะนัดตรวจซ้ำอีก 4-6 เดือน ดูว่าสารบ่งชี้มีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ และควรสำรวจอาการผิดปกติในร่างกายต่างๆ ด้วย