หนึ่งในงานหลักของศัลยแพทย์ตกแต่ง คือ การผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่
ภาวะความพิการแต่กำเนิดนี้คืออะไร เราจะป้องกันการเกิดโรคนี้ได้หรือไม่
พบคำตอบได้ในซีรีส์ “ศัลยกรรมตกแต่ง” ตอนที่ 3 เรื่อง “โรคปากแหว่ง เพดานโหว่”
กับผศ.นพ.ทพ. พรเทพ พึ่งรัศมี
หน่วยศัลยกรรมตกแต่งและเสริมสร้าง ภาควิชาศัลยศาสตร์
คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
โรคปากแหว่ง เพดานโหว่
ปากแหว่ง
ริมฝีปากบนไม่เชื่อมกัน มีรอยแยกตั้งแต่ริมฝีปากบนจนถึงฐานจมูก
เพดานโหว่
ไม่มีเพดานปาก ทำให้มีการติดต่อระหว่างช่องปากและจมูก คนไข้จะพูดไม่ชัดมีเสียงขึ้นจมูก และอาหารจากในช่องปากจะขึ้นไปที่จมูก ทำให้สำลักออกมา
อุบัติการณ์ภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ มีอัตราเกิดประมาณ 1:600 – 1:900
สาเหตุ
พันธุกรรม
- ถ้าพ่อหรือแม่เป็น ลูกมีโอกาสเกิดได้มากกว่าคนปกติ โอกาสเกิดโรคเพิ่มขึ้นเป็น 1:25 หรือ ร้อยละ 4
- ถ้าลูกคนแรกเป็น ลูกคนถัดมามีโอกาสเป็นถึงร้อยละ 16-17
สิ่งแวดล้อม
- ภาวะขาดสารอาหารของแม่ระหว่างตั้งครรภ์ เช่น กรดโฟลิก
- แม่ป่วยเป็นโรคเบาหวานก่อนตั้งครรภ์ หรือโรคอ้วนขณะตั้งครรภ์
- แม่สูบบุหรี่หรือดื่มแอลกอฮอล์ขณะตั้งครรภ์
- แม่ได้รับยาหรือสารบางชนิดต่อเนื่อง เช่น ยากันชัก หรือ เสตียรอยด์
- การให้กรดโฟลิกในผู้หญิงวัยเจริญพันธุ์ ช่วยลดการเกิดปากแหว่งเพดานโหว่ได้