The Tale of Princess Kaguya

เรื่องราวของเจ้าหญิงแห่งดวงจันทร์ที่มาจุติในต้นไผ่ประดุจนางยอพระกลิ่นนี้ เป็นตำนานโบราณของญี่ปุ่น สตูดิโอจิบลิที่รักของเราได้นำมาเล่าใหม่ในรูปแบบอะนิเมะวาดมือ อันงดงามอิ่มตาอิ่มใจอย่างที่ไม่มีซอฟต์แวร์ตัวใดทำเทียบเทียมได้

Big Eyes

เคยเห็นโปสการ์ดรูปเด็กตาโตแบบนี้มาตั้งแต่ตีนเท่าฝาหอย แต่ไม่รู้เลยว่าเรื่องราวเบื้องหลังการสร้างงานจะดุเด็ดเผ็ดมันขนาดนี้ จนกระทั่ง ทิม เบอร์ตัน หยิบมาทำเป็นหนังนี่แหละ

American Sniper

American Sniper นี่ก็สูตรของปู่เองครับทุกประการ หนังสร้างมาจากหนังสืออัตชีวประวัติของ คริส ไคล์ พลซุ่มยิงหรือสไนเปอร์ประจำหน่วยซีลแห่งนาวิกโยธินสหรัฐ เจ้าของฉายา Legend (ผู้เป็นตำนาน)

The Imitation Game

ช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 อังกฤษถูกเยอรมันโจมตีหนักมาก สาเหตุหนึ่งที่ทำให้อังกฤษตกเป็นรองอยู่เสมอก็คือการที่กองทัพเยอรมันสื่อสารกันโดยใช้เครื่องอีนิกมา (Enigma) แปลงข้อความทั้งหมดให้เป็นรหัสลับ

Interstellar

หนังนำเสนอประเด็นหลากหลายซึ่งหนังไซ-ไฟอวกาศทั่วไปไม่ค่อยพูดถึงเช่น เรื่องมิติแห่งเวลา ซึ่งถูกนำเสนอในฐานะปมปัญหาสำคัญที่ตัวละครต้องแก้ไขและต่อสู้กับมัน ทั้งนี้โนแลนเป็น ผกก. ที่เชี่ยวชาญในการเล่นกับเวลาอยู่แล้ว

Gone Girl

หนังสร้างมาจากนิยายของกิลเลียน ฟลินน์ และเธอก็เขียนบทเองด้วยกำกับโดยเดวิด ฟินเชอร์ (ผู้กำกับเรื่อง The Social Network สุดรักของดิฉัน) เป็นเรื่องราวของนิกและเอมี่ ดันน์

Saint Seiya: Legend of Sanctuary

งานภาพซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ทำทั้งหมดนั้นเป็นประดุจเกมคอมพิวเตอร์เน้นความอลังของฉาก บรรยากาศ และการต่อสู้ แต่หน้าตัวละครแข็งปั๋งไม่ได้อารมณ์เหมือนงานวาดมือสมัยที่ฉายทางทีวีเลย หน้าทุกคนเปลี่ยนไปกลายเป็นหน้าเหมือนกันหมด ต่างกันแต่สีตา สีผม ทรงผม

Boyhood

หนังที่ริชาร์ด ลิงเคลเตอร์ ผู้กำกับและเขียนบท ใช้เวลาถ่ายทำ 12 ปี ตั้งแต่เมสัน ตัวละครเอก (แสดงโดยน้องเอลลาร์ โคลเทรน) อายุ 6 ขวบ จนถึงอายุ 18 ให้เด็กโตขึ้นและผู้ใหญ่แก่ขึ้นตามเวลาจริง ลำพังการถ่ายทำหนังด้วยวิธีการแบบนี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่หนังไปไกลยิ่งกว่านั้นอีก

ตุ๊กแกรักแป้งมาก

จริงๆ ก็เกือบไม่ไปดูแล้วล่ะเพราะชื่อหนังกับการโปรโมตไม่ค่อยโดนดิฉันเท่าไหร่ เช่น โปรโมตว่าเป็นหนังน่ารัก (ดิฉันชอบหนังสนุก ไม่ต้องน่ารักก็ได้) หรือโปรโมตว่าเป็นหนังรักในยุคที่ผู้คนยังไม่มีช่องทางติดต่อกันในโลกออนไลน์ (แล้วไง?) แถมโปสเตอร์ก็ยังไงไม่รู้ ตามภาพ แต่เห็นใครๆ ก็บอกว่าหนังดี ดิฉันเลยไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง

Words and Pictures

นี่คือสงครามระหว่างครูหนุ่มสอนภาษาอังกฤษ (แสดงโดย ไคลฟ์ โอเวน) กับครูสาวสอนศิลปะ (แสดงโดย จูเลียตต์ บิโนช) ต่อสู้กันด้วยการพิสูจน์ว่าระหว่างถ้อยคำกับภาพวาดอย่างไหนจะสื่อความหมายได้มากกว่ากัน สงครามนี้ไม่มีใครแพ้ใครชนะ เพราะทั้งในเรื่องนี้และในความเป็นจริง ไม่มีใครตัดสินได้หรอกว่าอะไรสื่อความหมายได้มากกว่า หากมันเป็นงานที่ดีแล้วไม่ว่าจะถ่ายทอดด้วยถ้อยคำหรือด้วยภาพ ก็ทรงพลังและสื่อความหมายได้ลึกซึ้งกว้างขวางเช่นเดียวกัน