Home Tags การเมืองไทย

Tag: การเมืองไทย

จุดอ่อนและจุดเสียในระบบ

โครงสร้างสังคมไทยเป็นสังคมที่น่าอยู่ มีความอบอุ่นและมีน้ำใจต่อกันดีในระดับหนึ่ง แต่ขาดการทำงานที่เป็นระบบ โครงสร้างการปกครองมีความสับสนกึ่งประชาธิปไตยกึ่งเผด็จการ ภูมิศาสตร์กายภาพเราเกื้อหนุนต่อระบบเศรษฐกิจ เสมือนเป็นศูนย์กลางติดต่อตั้งแต่หลังสงครามโลกครั้งที่ 2

งบประมาณ ไอติม รัฐบาล ตอนที่ 1: งบประมาณปกติ ไอติมแท่ง

เพื่อความเข้าใจที่ง่ายขึ้นและไม่ซับซ้อนมากในความหมายของคำต่างๆ ที่เขียน รัฐบาลคือองค์กรหรือหน่วยงานที่ดำเนินงานของรัฐในการปกครอง รัฐบาลเป็นองค์กรทางการเมืองที่รัฐขาดไม่ได้ รัฐคือดินแดนทางภูมิศาสตร์ที่มีอาณาเขตและประชากรแน่นอน อำนาจอธิปไตย คืออำนาจซึ่งเป็นอำนาจสูงสุดในการปกครอง ส่วนที่มาของอำนาจในการปกครองนั้นอาจแตกต่างกัน

การเมืองกับการปกครอง และนักการเมืองไม่ใช่การเมือง

หากสังคมไทยจะมองการเมืองแบบไม่เข้าใจ หรือมองในแง่เลวร้าย จนถึงระดับที่มองนักการเมืองคือการเมือง และเป็นบุคคลที่แสวงหาประโยชน์นั้น ก็ไม่รู้สึกแปลกใจ เพราะในรอบกว่า 50 ปี เป็นมาเช่นนั้น แม้ในบางช่วงจะมีนักการเมืองที่มีอุดมคติจริง เสียสละและทำเพื่ออุดมคติจริงๆ บ้าง แต่คงไม่มีทางที่จะมีศักยภาพเหนือกว่าบุคคลที่มีอุดมคติเล็กน้อยแต่หาประโยชน์ที่มากกว่าได้ในหลายรูปแบบ

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 10:...

การปกครองของไทยในยุคสังคมเกษตร ใช้หลักความเชื่อดั้งเดิมผสมกับความศรัทธาที่มีต่อศาสนา ส่งผลต่อการเกิดค่านิยมและจารีตประเพณีมาถึงปัจจุบัน...เมื่อก้าวเข้าสู่สังคมเกษตรกึ่งอุตสาหกรรม ความเชื่อในสิ่งต่างๆ ลดลง แต่กลับเป็นตัวขับเคลื่อนไปสู่ความคิดเห็นที่ขัดแย้งในครอบครัว และละทิ้งครอบครัวเดิมไปสู่ครอบครัวใหม่ที่แตกต่าง สิ่งเหล่านี้เป็นสาระสำคัญที่เป็นแก่นแกนของสังคม

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 9:...

หากติดตามมาโดยลำดับ คงจะทราบดีว่าระบบเศรษฐกิจและสังคมเราหละหลวมหลายด้าน การเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจและการพัฒนาทางการเมืองเป็นไปตามยุคสมัยของผู้มีอำนาจ กลุ่มทุนเก่าที่มีทุนดั้งเดิม ผนวกกับผู้มีอำนาจทางทหารในแต่ละช่วง เกิดการสนธิกันกับกลุ่มคนจีนที่เก่งการค้า กลายเป็นทุนที่มีอำนาจทางสังคมและบริบททางปกครอง เรามีรัฐธรรมนูญหลายฉบับ ความเป็นประชาธิปไตยจะมีมากหรือน้อยก็มักอ้างตามกรอบอำนาจในรัฐธรรมนูญจนความศักดิ์สิทธิ์ของความหมายในประชาธิปไตยลดลง และลืมนึกกับคิดไปว่าเป็นไปได้หรือที่รัฐธรรมนูญซึ่งเกิดจากอำนาจในแต่ละช่วงซึ่งคณะผู้มีอำนาจกำหนดขึ้นนั้นจะมีความเป็นประชาธิปไตย

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 8:...

ในช่วง 10 ปี (พ.ศ. 2529-2539) เศรษฐกิจไทยเติบโตรวดเร็วมาก แต่การเปิดเสรีทางการเงินหละหลวม ตามด้วย BIBF ในปี พ.ศ. 2536 ทำให้ระบบการเงินการลงทุนขยายตัว ก่อให้เกิดปัญหาหนี้ต่างประเทศ ความไม่มีเสถียรภาพของการดำเนินนโยบายที่มีหลายรัฐบาลและมาตรฐานการกำกับดูแลสถาบันการเงินที่ไม่มีประสิทธิภาพ ส่งผลให้หนี้ด้อยคุณภาพ (NPL) พุ่งขึ้นถึง 52% ของสินเชื่อรวมในสถาบันการเงิน

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 7:...

รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 มีลักษณะครึ่งใบ สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมด แม้อำนาจในรัฐสภาจะน้อยกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจกลั่นกรองกฎหมาย รวมไปถึงอำนาจหน้าที่บางส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยกร่างขึ้นภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจ และมีการใช้กว่า 6 ปี

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 6:...

เมื่อรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ก็จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535...โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่าตนและสมาชิก รสช. จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5...

ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลชาติชายกับกองทัพในช่วงปลายของรัฐบาลสูงขึ้น อำนาจในกองทัพตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจปร.รุ่น 5 พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และจปร. รุ่น 1 พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ความหวาดระแวงมีมากขึ้นท่ามกลางข่าวลือกับยุทธการทางจิตวิทยา ในที่สุด กองทัพกระทำการยึดอำนาจ

เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5:...

แม้ยังเติร์กจะจบ พลเอกอาทิตย์จะอัสดง ก็มิใช่ว่าพลเอกเปรมจะบริหารงานได้ราบรื่นและมีเอกภาพ ความไม่ลงรอยกันในพรรคกิจสังคมและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขัดแย้งกันในการเลือกหัวหน้าพรรค นำมาสู่การไม่ลงมติเห็นชอบในการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน แม้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากรัฐมนตรี เพื่อให้ปรับคณะรัฐมนตรี แต่พลเอกเปรมกลับยุบสภา