Home Tags วิจารณ์หนัง

Tag: วิจารณ์หนัง

What’s for Dinner, Mom?

What's for Dinner, Mom? หรือชื่อภาษาญี่ปุ่นว่า ママ、ごはんまだ?(Mama, Gohan Mada?) สร้างจากนวนิยายของฮิโตโตะ ทาเอะ นักเขียน-นักแสดงสาววัย 47 ปี นวนิยายเรื่องนี้บอกเล่าเรื่องราวชีวิตของตัวเธอเอง ซึ่งเกิดและเติบโตขึ้นท่ามกลางการปะทะสังสรรค์ของสองวัฒนธรรม เพราะคุณพ่อของเธอเป็นคนไต้หวัน ส่วนคุณแม่เป็นคนญี่ปุ่น คุณพ่อคุณแม่พบกันที่ญี่ปุ่น ใช้ชีวิตคู่ที่ไต้หวัน ทาเอะเกิดที่ไต้หวัน ส่วนน้องสาวของเธอเกิดที่ญี่ปุ่น จากนั้นทั้งครอบครัวก็ย้ายกลับไต้หวันอีกที แล้วอีกไม่กี่ปีก็ย้ายกลับมาอยู่ญี่ปุ่น #งงเด้ ชีวิตทาเอะก็เลยสับสนพอควร

Her Love Boils Bathwater

ดู Her Love Boils Bathwater หนังอีกเรื่องหนึ่งที่มีบทบาทมากในเวที Japan Academy Prize หรือรางวัลออสการ์ของญี่ปุ่น ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเดือนตุลาคมปีที่แล้ว หนังเรื่องนี้ได้เข้าชิง 6 รางวัลใหญ่ เป็นรางวัลด้านการแสดง 3 รางวัล ส่วนอีกสามได้แก่ ภาพยนตร์แห่งปี ผู้กำกับแห่งปี และบทภาพยนตร์แห่งปี ซึ่งแม้หนังจะพลาด 3 รางวัลหลังไป แต่การได้เข้าชิงยกแผงแบบนี้ ก็แสดงให้เห็นว่า นากาโนะ เรียวตะ ผู้กำกับ-เขียนบท วัย 43 มีฝีมือที่ไม่ธรรมดาเลย

We Are X

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 107; ดู We Are X หนังสารคดีว่าด้วยเรื่องราวของวง X Japan วงร็อกญี่ปุ่นซึ่งโด่งดังไปทั้งโลก และถ้าดาวเคราะห์ดวงอื่นมีดาวเทียมรับสัญญาณ เสียงของพวกเขาก็คงจะดังไปถึง หนังดำเนินเรื่องโดยให้บุคคลสำคัญที่สุดของวง คือ ฮายาชิ โยชิกิ เป็นผู้เล่าเรื่อง (narrator) และให้เรื่องราวของเขานำเราเข้าไปสู่เรื่องราวของเอ็กซ์เจแปน ทั้งนี้ก็ไม่ใช่ว่าเพราะโยชิกิเป็นหัวหน้าวงเท่านั้น แต่เป็นเพราะวงเอ็กซ์เจแปนถือกำเนิดและมี "ชีวิต" ขึ้นมาได้ เนื่องจาก "ความตาย" ของคนคนหนึ่ง ซึ่งมีผลสั่นสะเทือนโยชิกิจนทำให้เขาต้องระเบิดอารมณ์อันเจ็บปวดคลั่งแค้นของตัวเองออกมาเป็นเพลงร็อกที่รุนแรงรวดร้าว ทั้งๆ ที่ตอนเด็กๆ เขาเรียนมาทางด้านเปียโนคลาสสิก

Life

Life เป็นเรื่องของนักบินอวกาศ 6 คน ซึ่งปฏิบัติงานในสถานีอวกาศนานาชาติ ภารกิจของทีมก็คือ เก็บตัวอย่างดินจากยานอวกาศที่ไปสำรวจดาวอังคาร นำมาศึกษาเพื่อหาร่องรอยของสิ่งมีชีวิต ปรากฏว่าพวกเขาเจอเซลล์สิ่งมีชีวิตจริงๆ ก็เลยเลี้ยงไว้ในแล็บของสถานีอวกาศ ท่ามกลางความปีติยินดีของมนุษย์ทุกคนที่ติดตามข่าวอยู่บนพื้นโลก

Apprentice

Apprentice เป็นเรื่องของชายหนุ่มนามว่า ไอมัน (แสดงโดย ฟีร์ดาอุส ราห์มัน) ซึ่งเมื่อตอนที่ยังละอ่อนน้อยอยู่ พ่อของเขา 'ดูเหมือนจะ' ตกเป็นแพะในคดีฆาตกรรม จึงถูกประหารชีวิตด้วยการแขวนคอ เหตุการณ์นี้เป็นบาดแผลในชีวิตของไอมันมาโดยตลอด เมื่อเติบโตขึ้น เขาจึงไปสมัครเป็นผู้คุมนักโทษในเรือนจำที่พ่อของเขาถูกจองจำและถูกประหาร ทำให้ได้พบกับเพชฌฆาตที่แขวนคอพ่อเขา เป็นชายวัยใกล้เกษียณที่ยังมีพลังเต็มเปี่ยม ชื่อว่าราฮิม

Beauty and the Beast

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 104; รอคอยเธอมาแสนนาน ในที่สุดก็ได้ดู Beauty and the Beast หนังที่สร้างจากแอนิเมชันดิสนีย์ซึ่งดิฉันยกให้เป็นหนึ่งในดวงใจตลอดกาลนานเทอญ เมื่อปี 1991 ซึ่งแอนิเมชัน Beauty and the Beast หรือชื่อไทยว่า "โฉมงามกับเจ้าชายอสูร" ออกฉาย ดิฉันยังเรียนอยู่ ม.ต้น ที่ขอนแก่น ไม่มีโอกาสได้ไปดูหนังเรื่องนี้ในโรง แต่แม่ดิฉันก็มีวิธีที่ทำให้ลูกได้ดูหนัง ด้วยการซื้อวิดีโอมาครอบครองซะ แม่ดิฉันเป็นแฟนตัวยงของดิสนีย์ หนังเรื่องนี้แม่จึงควักกระเป๋าซื้อโดยไม่เสียดาย ลูกแม่ทั้งสามคนเลยได้นั่งอ้าปากหวอดูอยู่ที่บ้าน ดูแล้วดูอีกๆๆๆๆๆ ไม่รู้จักเบื่อ เหมือนเด็กดูไอแพดสมัยนี้ยังไงยังงั้น

Beauty and the Beast: ดูหนังฟังเควียร์

ภาพยนตร์ดัดแปลงเรื่อง Beauty and the Beast เวอร์ชันล่าสุดนี้ประกอบด้วยโครงเรื่องหลักและโครงเรื่องรอง โครงเรื่องหลักยังเน้นเรื่องความสัมพันธ์ระหว่างหญิงชายด้วยความเคารพต้นฉบับ มีการเปลี่ยนแปลงรายละเอียดบ้างเล็กน้อยเพื่อเอื้อต่อการตีความใหม่ด้วยมุมมองสตรีนิยม บางอย่างก็ปัง แต่หลายอย่างก็พัง มีการถกเถียงมากมาย ลองตามอ่านดูนะครับ สนุกเพลิดเพลินดี แต่โครงเรื่องรองเกี่ยวกับการ coming out ของตัวละครเควียร์เป็นสิ่งใหม่ที่ผู้กำกับเพิ่มเข้ามาในหนัง

Logan

ฮิว แจ็กแมน ได้รับบทวูล์ฟเวอรีนแบบส้มหล่น เป็นส้มโอลูกโตที่หล่นกลางกบาลอย่างเหมาะเหม็ง เพราะเมื่อสิบกว่าปีที่แล้วที่เขาจะสร้างหนัง X-Men กันนั้น แกยังเป็นนักแสดงกิ๊กก๊อกในฮอลลีวูดอยู่เลย ให้บังเอิญว่า ดูเกรย์ สก็อต ผู้เซ็นสัญญาจะมาเล่นบทนี้ จำเป็นต้องถอนตัวกะทันหันก่อนเปิดกล้องเพียง 3 อาทิตย์ แจ็กแมนจึงถูกเรียกมาเสียบ แล้วหลังจากนั้นแกก็ทำให้วูล์ฟเวอรีนกลายเป็นตัวละครที่โดดเด่นที่สุดในภาพยนตร์ชุดเอ็กซ์เม็น (X-Men Film Series) และบทวูล์ฟเวอรีนก็ทำให้แกกลายเป็นนักแสดงที่โด่งดังที่สุดคนหนึ่งของโลกจวบจนปัจจุบัน

Kong: Skull Island

คิงคอง ซึ่งพวกเรารู้จักกันดีนั้น ปรากฏสู่สากลโลกเมื่อปี 1933 (พ.ศ. 2476) จากการสร้างสรรค์ของนักสร้างหนังอัจฉริยะ เมเรียน ซี. คูเปอร์ ผู้คลั่งไคล้กอริลลามาตั้งแต่เด็ก เขาสร้างตัวละคร "คอง" ให้มีรูปลักษณ์เป็นกอริลลาขนาดมหึมา มีความเก่งกล้าสามารถ มีพละกำลังมหาศาล แต่ก็อ่อนไหว อ่อนโยน และมีลักษณะหลายๆ อย่างคล้ายมนุษย์ คองเป็น "คิง" หรือราชาแห่งเกาะหัวกะโหลก (Skull Island) ในมหาสมุทรอินเดีย ซึ่งเป็นเกาะที่เต็มไปด้วยสิ่งมีชีวิตขนาดยักษ์จำนวนมาก คูเปอร์นำจินตนาการของเขามาสร้างเป็นหนังเรื่อง King Kong แล้วคิงคองก็กลายเป็นตัวละครสัตว์ประหลาดยักษ์ที่ครองใจคนทั้งโลกนับแต่นั้น

In This Corner of the World

ดู In This Corner of the World อะนิเมะที่ได้รับรางวัลแอนิเมชันยอดเยี่ยม ในการประกาศผลรางวัล Japan Academy Prize หรือรางวัลออสการ์ของญี่ปุ่น ประจำปีนี้ ข่าวว่าเฉือนชนะ Your Name แค่เส้นยาแดงผ่าแปด ถ้าว่ากันเฉพาะเรื่องราวที่นำเสนอ อะนิเมะเรื่องนี้ก็น่าจะ 'โดน' คนญี่ปุ่นมากกว่า Your Name เพราะมันเป็นเรื่องอิงประวัติศาสตร์ช่วงสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นบาดแผลที่ฝังลึกในชีวิตจิตใจของคนญี่ปุ่นมายาวนาน