Home Tags วิทยาศาสตร์

Tag: วิทยาศาสตร์

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 2: โปรโตซัวคืออะไร

เราคงเคยได้ยินคำว่า “โปรโตซัว” กันมาบ้าง แต่รู้หรือไม่ว่าจริงๆ แล้วโปรโตซัวคืออะไร? สามารถก่อโรคหรือทำอันตรายให้เราได้มากน้อยแค่ไหน!? มาทำความรู้จักกับเจ้าสิ่งมีชีวิตขนาดเล็กชนิดนี้กัน โดยวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 1: ปรสิตคืออะไร

บนโลกใบใหญ่นี้ มีสิ่งมีชีวิตนานาชนิด หลากหลายสายพันธุ์ นับกันไม่ถ้วน คุณอาจรู้จักสิ่งมีชีวิตขนาดใหญ่อย่างช้าง เสือ ปลาวาฬ... แต่กับสิ่งมีชีวิตเล็กๆ อีกหลายชนิดที่เรามองเห็นแต่อาจไม่รู้จัก หรือบางชนิดอาจมองด้วยตาเปล่าไม่เห็นนั้น เรารู้จักเพื่อนร่วมโลกเหล่านี้มากน้อยเพียงไร มาทำความรู้จักกับ “ปรสิต” สิ่งมีชีวิตขนาดเล็กที่คนทั่วไปอาจจะเรียกว่า “พยาธิ” กัน พยาธิคืออะไร? ทำไมต้องอยู่อาศัยในร่างกายของเราด้วยนะ!? ในรายการ “ปรสิตน้อยกลอยใจ ตอนที่ 1: ปรสิตคืออะไร” โดยวิทยากร ดร. วิวรพรรณ สรรประเสริฐ ภาควิชาปรสิตวิทยา คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Climate Change) ตอนที่ 1: ก๊าซเรือนกระจกคืออะไร

สภาพอากาศปัจจุบันที่แสนจะปรวนแปรแบบนี้ เดี๋ยวๆ ก็ร้อนจัด เดี๋ยวๆ ก็ฝนตกหนักจนน้ำท่วม มันคืออะไรกัน ใช่เป็นผลจากสิ่งที่เรียกว่า "การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ" หรือ "Climate Change" หรือไม่!? ว่าแต่...เรารู้จัก Climate Change กันดีแค่ไหน จริงๆ แล้วคืออะไรกันแน่ และเกิดจากสาเหตุอะไร ใช่น้ำมือมนุษย์เรากันเองหรือไม่ มาทำความเข้าใจกันได้เลย!

หรือนี่จะเป็นทางแก้เจ็ตแล็ก?

ร้อยกว่าปีที่แล้ว รัดยาร์ด คิปลิงเขียนว่า กำเนิดของเครื่องบินจะบ่งบอกถึงยุคที่ “ระยะทางที่อยู่ห่างกันแสนไกลที่สุดจะเชื่อมเข้าหากันได้ด้วยการเดินทางเพียงหนึ่งสัปดาห์ หรือหนึ่งร้อยหกสิบแปดชั่วโมงเท่านั้น”