Tag: เบี้ยน้อยหอยน้อย
Little Forest: Summer/Autumn
คนญี่ปุ่นมีวิถีชีวิตที่ผูกพันกับฤดูกาลมาก อาจเป็นเพราะแต่ละฤดูมีภูมิอากาศและภูมิทัศน์แตกต่างกันมากและมีเอกลักษณ์เฉพาะตัว ฤดูใบไม้ผลิก็อากาศสดใสมีซากุระบาน ฤดูร้อนก็ร้อนชื้นอบอ้าวราวกับอยู่ในลังถึง ฤดูใบไม้ร่วงก็อากาศเย็นมีใบไม้หลากสีสัน ฤดูหนาวก็หิมะตกเหน็บหนาวราวกับอยู่ในตู้เย็น ความแตกต่างของฤดูกาลมีความสำคัญต่อคนญี่ปุ่น และเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันในมิติที่หลากหลาย การทำหนังที่เล่าเรื่องราวของคนคนหนึ่งในฤดูกาลต่างๆ ครบ 4 ฤดูในรอบ 1 ปี จึงเป็นอะไรที่ญี่ปุ๊นญี่ปุ่น และก็คงจะไม่มีประเทศใดทำหนังแบบนี้แล้วล่ะนอกจากญี่ปุ่นเท่านั้น
Saint Seiya: Legend of Sanctuary
งานภาพซึ่งใช้คอมพิวเตอร์ทำทั้งหมดนั้นเป็นประดุจเกมคอมพิวเตอร์เน้นความอลังของฉาก บรรยากาศ และการต่อสู้ แต่หน้าตัวละครแข็งปั๋งไม่ได้อารมณ์เหมือนงานวาดมือสมัยที่ฉายทางทีวีเลย หน้าทุกคนเปลี่ยนไปกลายเป็นหน้าเหมือนกันหมด ต่างกันแต่สีตา สีผม ทรงผม
Boyhood
หนังที่ริชาร์ด ลิงเคลเตอร์ ผู้กำกับและเขียนบท ใช้เวลาถ่ายทำ 12 ปี ตั้งแต่เมสัน ตัวละครเอก (แสดงโดยน้องเอลลาร์ โคลเทรน) อายุ 6 ขวบ จนถึงอายุ 18 ให้เด็กโตขึ้นและผู้ใหญ่แก่ขึ้นตามเวลาจริง ลำพังการถ่ายทำหนังด้วยวิธีการแบบนี้ก็เป็นประวัติศาสตร์ในตัวมันเองอยู่แล้ว แต่หนังไปไกลยิ่งกว่านั้นอีก
ตุ๊กแกรักแป้งมาก
จริงๆ ก็เกือบไม่ไปดูแล้วล่ะเพราะชื่อหนังกับการโปรโมตไม่ค่อยโดนดิฉันเท่าไหร่ เช่น โปรโมตว่าเป็นหนังน่ารัก (ดิฉันชอบหนังสนุก ไม่ต้องน่ารักก็ได้) หรือโปรโมตว่าเป็นหนังรักในยุคที่ผู้คนยังไม่มีช่องทางติดต่อกันในโลกออนไลน์ (แล้วไง?) แถมโปสเตอร์ก็ยังไงไม่รู้ ตามภาพ แต่เห็นใครๆ ก็บอกว่าหนังดี ดิฉันเลยไปพิสูจน์ด้วยตัวเอง
Words and Pictures
นี่คือสงครามระหว่างครูหนุ่มสอนภาษาอังกฤษ (แสดงโดย ไคลฟ์ โอเวน) กับครูสาวสอนศิลปะ (แสดงโดย จูเลียตต์ บิโนช) ต่อสู้กันด้วยการพิสูจน์ว่าระหว่างถ้อยคำกับภาพวาดอย่างไหนจะสื่อความหมายได้มากกว่ากัน สงครามนี้ไม่มีใครแพ้ใครชนะ เพราะทั้งในเรื่องนี้และในความเป็นจริง ไม่มีใครตัดสินได้หรอกว่าอะไรสื่อความหมายได้มากกว่า หากมันเป็นงานที่ดีแล้วไม่ว่าจะถ่ายทอดด้วยถ้อยคำหรือด้วยภาพ ก็ทรงพลังและสื่อความหมายได้ลึกซึ้งกว้างขวางเช่นเดียวกัน
The Fault in Our Stars 2
ในชีวิตมีหลายครั้งที่ดูหนังแล้วตกอยู่ในภวังค์ ไม่สามารถเลิกคิดถึงหนังเรื่องนั้นได้ เพราะหนังมีอะไรบางอย่างทำให้เราต้องคิดต่ออีกเยอะแยะหลังจากดูจบ วิธีแก้มีทางเดียว จั๊งซี่มันต้องถอน ถอนด้วยการไปดูเรื่องนั้นซ้ำอีก แล้วก็จะสบายอกสบายใจออกจากภวังค์ได้ ที่ผ่านมามีหลายเรื่องที่ต้องไปดูซ้ำ เช่น Nobody Knows/ Lust, Caution/ รักแห่งสยาม/ บอดี้ ศพ #19/ Cloud Atlas ฯลฯ จนกระทั่งมาถึงเรื่องล่าสุด The Fault in Our Stars
The Fault in Our Stars
อาศัยใบบุญนักวิจารณ์ไปดูหนังรอบสื่อ เรื่อง The Fault in Our Stars ซึ่งสร้างจากนวนิยายดังของจอห์น กรีนชื่อของนวนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากไดอะล็อกหนึ่งในบทละครเรื่องจูเลียส ซีซาร์ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ ชื่อของนวนิยายเรื่องนี้ดัดแปลงมาจากไดอะล็อกหนึ่งในบทละครเรื่องจูเลียส ซีซาร์ ของวิลเลียม เชกสเปียร์ "The fault,...is not in our stars, but in ourselves, that we are underlings"
The Incident
หนังเรื่องนี้เป็น Courtroom Drama (หนังที่มีเรื่องราวส่วนใหญ่เป็นการว่าความในศาล) แบบฮาร์ดคอร์สุดลิ่มทิ่มประตูมาก ช่วงแรกถึงกับเหวอมีฉากอัยการอ่านสำนวนคดีให้ฟังเกือบสิบห้านาที
ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย: ความเป็นมา
เมื่อเดือนกรกฎาคม 2557 โรงหนัง House Rama RCA ได้จัดอีเวนต์ฉลองในโอกาสที่เปิดดำเนินการมาครบ 10 ปี มีการฉายหนังฟรีหลายเรื่อง บ้านดิฉันอยู่ใน RCA อยู่แล้ว จึงโชคดีได้ดูหนังฟรีกับเขาด้วย หลังจากดูจบ รู้สึกว่าสิ่งที่ได้จากหนังมันช่างคุ้มค่า ทั้งที่ไม่ต้องเสียเงินสักบาท ระหว่างเดินกลับบ้าน ชื่อ "ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย" ก็แวบเข้ามาในหัว