Tag: 6 ตุลาคม 2519
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 7:...
รัฐธรรมนูญฉบับปี พ.ศ. 2534 มีลักษณะครึ่งใบ สมาชิกวุฒิสภามาจากการแต่งตั้งทั้งหมด แม้อำนาจในรัฐสภาจะน้อยกว่าสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรที่มาจากการเลือกตั้ง แต่มีอำนาจกลั่นกรองกฎหมาย รวมไปถึงอำนาจหน้าที่บางส่วนของฝ่ายนิติบัญญัติ รัฐธรรมนูญฉบับนี้ยกร่างขึ้นภายหลังคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (รสช.) ยึดอำนาจ และมีการใช้กว่า 6 ปี
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 6:...
เมื่อรัฐบาลนายอานันท์ ปันยารชุนดำเนินการร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้น ก็จัดให้มีการเลือกตั้งในวันที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2535...โดยพลเอกสุจินดา คราประยูร ได้ให้สัมภาษณ์ว่าตนและสมาชิก รสช. จะไม่รับตำแหน่งทางการเมืองใดๆ
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5...
ความขัดแย้งระหว่างรัฐบาลชาติชายกับกองทัพในช่วงปลายของรัฐบาลสูงขึ้น อำนาจในกองทัพตกอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของจปร.รุ่น 5 พลเอกสุจินดา คราประยูร ผู้บัญชาการทหารบก และพลอากาศเอกเกษตร โรจนนิล ผู้บัญชาการทหารอากาศ และจปร. รุ่น 1 พลเอกสุนทร คงสมพงษ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุด ความหวาดระแวงมีมากขึ้นท่ามกลางข่าวลือกับยุทธการทางจิตวิทยา ในที่สุด กองทัพกระทำการยึดอำนาจ
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 5:...
แม้ยังเติร์กจะจบ พลเอกอาทิตย์จะอัสดง ก็มิใช่ว่าพลเอกเปรมจะบริหารงานได้ราบรื่นและมีเอกภาพ ความไม่ลงรอยกันในพรรคกิจสังคมและพรรคประชาธิปัตย์ ซึ่งขัดแย้งกันในการเลือกหัวหน้าพรรค นำมาสู่การไม่ลงมติเห็นชอบในการแก้ไขพระราชบัญญัติลิขสิทธิ์ของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจากพรรคประชาธิปัตย์บางส่วน แม้รัฐมนตรีของพรรคประชาธิปัตย์จะแสดงความรับผิดชอบด้วยการลาออกจากรัฐมนตรี เพื่อให้ปรับคณะรัฐมนตรี แต่พลเอกเปรมกลับยุบสภา
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 4:...
ด้วยศักยภาพที่เหนือกว่าของพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ และสามัคคี จปร. รุ่น 1-9 เว้นรุ่น 7 โดยเตรียม ทบ. 5 พลตรีอาทิตย์ กำลังเอกสามารถปราบปรามการปฏิวัติ ซึ่งดำเนินการโดยกลุ่มยังเติร์กได้
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 3...
ที่มาของคำว่า “ยังเติร์ก” มาจากชื่อของมุสตาฟา เคมาล อตาเติร์ก นายทหารหนุ่มผู้ปลดปล่อยประเทศและก่อตั้งประเทศตุรกี ดำเนินการปฏิรูปประเทศตุรกีให้เป็นประเทศสมัยใหม่ที่เน้นประชาธิปไตยและไม่อิงศาสนา สำหรับยังเติร์กไทยนั้น เริ่มก่อตัวทางความคิดจากนายทหารหลายรุ่นที่ร่วมรบในสงครามเวียดนาม สงครามลับที่ลาวและเขมร
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 3
เมื่อเกิดเหตุการณ์สังหารหมู่ที่มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ รัฐบาลพลเรือนที่นำโดยหม่อมราชวงศ์เสนีย์ ปราโมช นายกรัฐมนตรีในขณะนั้น ไม่สามารถควบคุมสถานการณ์ได้ ตอนเย็นวันที่ 6 ตุลาคม 2519 คณะนายทหารภายใต้การนำของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม พลเรือเอกสงัด ชลออยู่ จึงอ้างความจำเป็นอย่างยิ่งในการยึดอำนาจ
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 2
ร่องรอยอำนาจช่วงเวลานั้น หากจะพูดโดยไม่เกรงใจกันก็คงได้แก่ ควันหลงอำนาจจากสหรัฐอเมริกา สังคมโลกเปลี่ยนแปลงไปมากหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 เมื่อสหรัฐอเมริกาและพันธมิตรมาจัดระเบียบโลก
เก็บสาระสำคัญ อนุสนธิอำนาจหลัง 14 ตุลา 2516 – 6 ตุลา 2519 ตอนที่ 1
เมื่อพูดถึงหัวข้อนี้ เราควรรู้สภาพสังคมไทยในยุคสมัยนั้นก่อน เค้าโครงอำนาจทางการปกครองนั้น เป็นที่ทราบกันว่ามีจอมพลถนอม กิตติขจร เป็นนายกรัฐมนตรี นับตั้งแต่สิ้นจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ผู้ถือได้ว่าเป็นสี่เสาเทเวศร์คนแรก