Home Tags ดูหนัง

Tag: ดูหนัง

Jackie

"ผู้นำที่สร้างความเปลี่ยนแปลง มักเป็นเป้าของการลอบสังหาร" นี่คือวาทะของดิฉันเอง เพราะทุกการเปลี่ยนแปลงย่อมมีคนเสียประโยชน์ ซึ่งมักจะคิดเอาง่ายๆ ว่าฆ่าแม่มเลยหมดเรื่องหมดราวไป ประธานาธิบดีเคนเนดีก็เลยถูกลอบยิงขณะนั่งรถเปิดประทุนกับภรรยา ในขบวนพาเหรดที่เมืองดัลลัส รัฐเท็กซัส ถึงแก่อสัญกรรมเมื่อปี 1963 ด้วยวัย 46 ปี ขณะนั้นแจ็กกี้อายุเพียง 34 ปี มีบุตรธิดา 2 คน อายุ 6 ขวบกับ 3 ขวบตามลำดับ

The Red Turtle

หนังเรื่องนี้มีความเป็นสากลไม่แพ้ที่มาของหนัง อันเกิดจากความร่วมมือของคนหลายชาติจากนานาประเทศ เพราะตัวละครไม่ปรากฏว่าเป็นใครมาจากไหน ชื่ออะไรเป็นคนชาติอะไรก็ไม่รู้ ที่สำคัญ หนังเรื่องนี้ไม่มีบทพูด ก็จะให้แกพูดกับใครใช่มะ แกติดเกาะอยู่คนเดียว ส่วนช่วงที่แกไม่ได้อยู่คนเดียว ก็ไม่จำเป็นต้องสื่อสารด้วยคำพูด ดังนั้น หนังเรื่องนี้จึงไม่ต้องมีซับไตเติลเลย

Split

ดู Split ที่ลิโด 3 เหลือรอบเดียว แต่คนยังเต็มโรง คุณพี่เอ็ม. ไนต์ ชามาลาน คัมแบ็กแล้วข่าาาา อันว่าคุณพี่นั้นก็เป็นหนึ่งในผู้กำกับที่ดิฉันชื่นชอบนะ เพราะถือได้ว่าแกเป็นผู้นำเทรนด์หนังผีหักมุมในยุคของดิฉันเลยแหละ เรื่อง The Sixth Sense ที่แกเขียนบทและกำกับเมื่อปี 1999 เป็นหนึ่งในหนังดีที่ครองใจดิฉันตลอดกาล ไม่ใช่แค่เพราะมันจบแบบหักมุม แต่เพราะมันลงตัวทุกอย่างในความเป็นหนังจริงๆ จะว่าไปตอนนั้นฮอลลีวูดก็ตื่นเต้นกับแกมาก เพราะแกเป็นคนอินเดียด้วยไง ไม่ใช่ฝรั่งมังค่า

Split

เป็นที่รู้กันดีว่า เอ็ม ไนท์ ชยามาลัน (M. Night Shyamalan) หรือพี่มาโนชของนักดูหนังหลายๆ คน มีชื่อเสียงโด่งดังมาจาก The Sixth Sense (1999) หนังดรามา-สยองขวัญสุดเซอร์ไพรส์ที่ได้ชิงรางวัลมากมาย แถมยังเป็นต้นฉบับหนังหักมุมให้แก่หนังในสมัยต่อมาอีกหลายเรื่อง จากนั้น หนังของพี่มาโนชก็ขายได้ดีมาเรื่อยๆ ด้วยพล็อตเรื่องที่เดาทิศทางยาก ทำให้เราต่างจับจ้องว่าพี่แกจะมีอะไรมาเซอร์ไพรส์เราได้อีก

Moonlight

ดูหนังอย่างคนเบี้ยน้อยหอยน้อย 091; ได้เลิกงานตามเวลาราชการปกติเป็นครั้งแรกในรอบ 3 เดือน ก็เลยกลับบ้านไปสลัดเครื่องแบบ แล้วเดินไปดู Moonlight ที่ House RCA หนังเรื่องนี้เป็นผลงานการกำกับและเขียนบทของแบร์รี เจนกินส์ ผู้กำกับหนุ่มผิวสีวัย 37 เล่าเรื่องราวของ ไชรอน เด็กชายที่อาศัยอยู่กับแม่ขี้ยา (แสดงโดย เนโอมี แฮร์ริส) ในชุมชนคนผิวสีชั้นรากหญ้าแห่งเมืองไมอามี รัฐฟลอริดา ลำพังปัญหาเรื่องแม่ก็หนักหนาเกินทนแล้ว แต่เขายังต้องเผชิญกับปัญหาเพศสภาพของตัวเองด้วย ซึ่งในสังคมชนชั้นล่างผิวสีที่แมนๆ เตะบอลครัช และเต็มไปด้วยเด็กอันธพาลที่พร้อมจะระรานผู้อ่อนแอกว่า มันเป็นสภาวะที่อยู่ยากมากสำหรับเด็กชายติ๋มๆ ไม่สู้คน

The Founder

หนังที่สร้างมาจากเรื่องจริงของ "ผู้ก่อตั้ง" แมคโดนัลด์ ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้เป็น "ผู้ก่อตั้ง" แมคโดนัลด์...บุคคลผู้นี้มีชื่อว่า เรย์ คร็อก ประกอบสัมมาอาชีวะเป็นเซลส์แมน แต่ก็ไม่ประสบความสำเร็จสักเท่าไหร่ จนกระทั่งวันหนึ่งในปี 1954 (พ.ศ. 2497) ร้านอาหารที่เมืองแซนเบอร์นาดิโน รัฐแคลิฟอร์เนีย สั่งซื้อเครื่องปั่นมิลค์เชคของแกถึง 6 เครื่อง แกก็เลยไปดูให้เห็นกับตาว่าร้านอะไรจะขายดิบขายดีถึงกับต้องปั่นมิลค์เชคเป็นระวิงขนาดนั้น นั่นก็คือจุดเริ่มต้นที่ทำให้แกได้รู้จักกับร้าน McDonald's

Tomorrow I will Date with Yesterday’s You

"มิติเวลา" เป็นสิ่งที่วรรณกรรมและภาพยนตร์นำมาเล่นได้ไม่รู้จบ อย่างหนังเรื่องนี้ เห็นชื่อเรื่องก็รู้แล้วว่ามิติเวลาจะต้องเป็นเงื่อนไขสำคัญ และที่จริงหนังก็โปรโมตไว้เยอะว่าเป็นเรื่องเกี่ยวกับวันเวลาที่สวนทาง ความน่าสนใจจึงอยู่ที่ว่า หนังจะไปได้ไกลแค่ไหนภายใต้ข้อจำกัดของมิติเวลาที่ตั้งไว้เช่นนี้

Arrival

นี่คือหนังมนุษย์ต่างดาวเยือนโลกที่มีความแปลกใหม่หลายสถาน ซึ่งผู้ที่ควรได้รับการชื่นชมมากที่สุดก็คือ เท็ด เจียง นักเขียนอเมริกันเชื้อสายจีน ผู้แต่งบทประพันธ์ตั้งต้น อันมีชื่อว่า Story of Your Life (ปี 1998) หนังสือนี้เป็นเรื่องสั้นแนววิทยาศาสตร์ ได้รับรางวัลการันตีคุณภาพถึง 2 รางวัล ล้วนเป็นรางวัลใหญ่สำหรับวรรณกรรมแนววิทยาศาสตร์ในอเมริกา

La La Land นักรักโลกมายา

La La Land เป็นภาพยนตร์เพลงร่วมสมัยที่แสดงการคารวะ (homage) หนังเพลงรุ่นคลาสสิก ทั้งด้านงานภาพ การออกแบบฉาก เครื่องแต่งกาย สไตล์เพลง (แจ๊ซ) รวมถึงแก่นเรื่องหลักเกี่ยวกับโอกาสและความฝัน มีอา (เอ็มมา สโตน) ใฝ่ฝันจะได้เป็นนักแสดงชั้นแนวหน้าในฮอลลีวูด แม้จะผ่านการออดิชันที่แย่ๆ มานับครั้งไม่ถ้วน เธอได้พบและรักกันกับเซบาสเตียน (ไรอัน กอสลิ่ง) นักเปียโนฝีมือดีที่อยากเปิดผับแจ๊ซเป็นของตัวเอง ทั้งสองต่างให้กำลังใจและสนับสนุนอีกฝ่ายอย่างเต็มที่ แต่ทว่าเส้นทางสู่ความฝันย่อมมีราคาค่างวดที่ต้องจ่ายไป

Arrival

Arrival เป็นหนังดรามาปรัชญาชีวิตนะครับ ไม่ใช่แนวแอ็กชันมนุษย์ต่างดาวบุกโลก ผู้กำกับหยิบสมมติฐาน Linguistic Relativism ของ Sapir-Whorf มาต่อยอดได้แยบยลน่าสนใจดี ทีนี้เรียนสายภาษาจึงอดสงสัย "merit" ของการตีความประยุกต์ใช้สมมติฐานนี้ไม่ได้